> การทำงานด้านสิ่งแวดล้อม

 

เมื่อความจริงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศปรากฏชัดเจนขึ้น เราทุกคนต่างตระหนักว่ามนุษยชาติกำลังใช้ทรัพยากรในอัตราที่เกินระดับที่โลกของเราสามารถยั่งยืนในระยะยาวได้ แม้ว่าปูนซีเมนต์และคอนกรีตจะเป็นวัสดุก่อสร้างที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำที่สุดต่อหน่วยความแข็งแรงและต้นทุนจนถึงปัจจุบัน แต่อุตสาหกรรมคอนกรีตก็ต้องมีส่วนในการลดความเข้มข้นของคาร์บอนในสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การรักษาสมดุลระหว่างการผลิตและการดูแลสิ่งแวดล้อมจึงเป็นภารกิจที่สำคัญของเรา เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการจัดการสิ่งแวดล้อมของเรา บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) จึงได้นำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO14001 มาใช้เป็นแนวทางในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กร

 แรงบันดาลใจจากคำมั่นสัญญาของอนาคตที่ยั่งยืนและรุ่งเรืองสำหรับทุกคน กลุ่มบริษัทฯ ได้กำหนดเป้าหมายการทำงานด้านความยั่งยืนปี 2030 ซึ่งธุรกิจปูนซีเมนต์ในประเทศไทยก็มีเป้าหมายเดียวกัน อย่างไรก็ตาม เราได้พัฒนาเป้าหมายที่ท้าทายมากขึ้นบนพื้นฐานของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ให้สอดคล้องกับทุกหน่วยธุรกิจทั่วทั้งกลุ่ม เพื่อให้มั่นใจว่าในฐานะกลุ่มบริษัทฯ เราจะสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างแท้จริง 

การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพลังงาน

ภาวะโลกร้อนเป็นหนึ่งในความท้าทายเร่งด่วนที่สุดที่โลกกำลังเผชิญ หากไม่ดำเนินการแก้ไข จะส่งผลกระทบทั้งต่อระบบภูมิอากาศและความปลอดภัยของประชากรโดยรวม ธุรกิจปูนซีเมนต์ในประเทศไทย สอดคล้องกับกลยุทธ์การทำงานด้านความยั่งยืนของกลุ่มบริษัทฯ ที่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหานี้ รวมถึงความจำเป็นในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยการพัฒนาเป้าหมายและโครงการที่สามารถบรรลุได้ในด้านภูมิอากาศและพลังงาน 

เป้าหมายด้านการทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพลังงาน

  • ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วทั้งกลุ่มบริษัทฯ จากการลดการปล่อยให้น้อยกว่า 530 กิโลกรัม/ตันซีเมนติเชียส เป็นน้อยกว่า 470 กิโลกรัม/ตันซีเมนติเชียส ซึ่งเป็นการลดลงถึงกว่าร้อยละ 25 ของทั้งกลุ่มบริษัทฯ จากปีฐาน 2563 
  • เพิ่มการใช้พลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานสะอาด (renewable energy) ให้ได้ ร้อยละ 50

โครงการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพลังงาน 

กรุณาเลือกประเทศ 

 

เศรษฐกิจหมุนเวียน

environ-09.jpg
environ-13.jpg

กลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวงยกระดับการทำงานด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนตลอดห่วงโซ่คุณค่าของเรา และดำเนินการตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างแข็งขันเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอนในการดำเนินธุรกิจ นอกจากนั้น ยังช่วยเหลือลูกค้าและคู่ค้าให้สามารถลดขยะได้จากการกระบวนก่อสร้าง รวมถึงยืดอายุการใช้งานอาคารและโครงสร้างพื้นฐานให้ได้ยาวนานมากขึ้น กลุ่มบริษัทฯ ยังมุ่งมั่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นนวัตกรรมที่แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างจริงจัง ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกที่มีสัดส่วนปริมาณปูนเม็ดที่ลดลง เพื่อทดแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์แบบดั้งเดิม สอดรับกับความมุ่งมั่นที่จะจัดหาทางเลือกที่ยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมการก่อสร้าง

เป้าหมายการทำงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ปี พ.ศ. 2573 

  • เพิ่มการใช้เชื้อเพลิงและวัตถุดิบที่ได้จากขยะมาผลิตปูนเม็ดจาก 0.5 ล้านตันเป็น มากกว่า 1.4 ล้านตัน

  • เพิ่มการใช้วัตถุดิบพลอยได้ ซึ่งรวมถึงเถ้าลอยและตะกรัน ประมาณร้อยละ 65 ให้บรรลุเป้าหมายที่ 1.7 ล้านตันของการใช้วัตถุดิบพลอยได้ต่อปี

โครงการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน

กรุณาเลือกประเทศ 

environ-06.jpg
environ-14.jpg
environ-15.jpg

ประเด็นเรื่องของการบริหารจัดการน้ำ ได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาในทุกรูปแบบ เพราะน้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติสำคัญที่มักจะขาดแคลน และนับว่าเป็นหัวใจของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งรวมถึงมวลมนุษยชาติด้วย ซึ่งหากขาดน้ำที่เพียงพอ อาจสร้างให้เกิดความกดดันในทุกภาคส่วน ที่จะส่งผลกระทบไปถึงระดับคุณค่าของความอุดมสมบูรณ์ของสภาพดิน ที่มีผลกระทบต่อเนื่องไปยังพืชพันธุ์ และแหล่งเพาะปลูกอาหารของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อีกทั้งยังป้องกันระดับความเสื่อมของหน้าดิน และควบคุมคุณภาพและปริมาณของน้ำในระบบนิเวศให้เหมาะสม ตามที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับน้ำโดยตรง คือ เป้าหมายที่หก เรื่องการสร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยสำหรับทุกคน ทำให้เราทุกคนต้องมุ่งเดินหน้าสร้างกลยุทธ์และเป้าหมายเรื่องนี้ให้เป็นรูปธรรม

เป้าหมายการทำงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรน้ำ

  • ตั้งเป้าหมายที่จะสร้างผลกระทบเชิงบวกสุทธิ ต่อความหลากหลายทางชีวภาพภายในปี 2573 

  • กำหนดเป้าหมายการลดอัตราการใช้น้ำต่อการผลิตปูนซีเมนต์อย่างน้อยร้อยละ 20 และส่งเสริมการใช้น้ำผิวดินให้ได้มากกว่าร้อยละ 45 (ปรับขึ้นจากร้อยละ 40) ในกระบวนการผลิตภายในปี 2573

โครงการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรน้ำ

กรุณาเลือกประเทศ